วันจักรี

วันจักรี

วันจักรี

6 เมษายน พ.ศ. 2325

“วันจักรี” คือวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องในโอกาสขึ้นครองราชย์เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และได้สถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย
วันจักรี

 

สอบถามเพิ่มเติม ผึ้งหลวง

: 02-510-2957

 : phuengluang.s

About us

ทรงพระเจริญ

วันคล้ายวันประสูติ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

ทรงพระเจริญ

๕ เมษายน ๒๕๖๖ วันคล้ายวันประสูติ
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
เกล้ากระหม่อมคณะผู้บริหารและพนักงาน บริษัท ผึ้งหลวง สไปซ์ จำกัด
ทรงพระเจริญ

 

 

สอบถามเพิ่มเติม ผึ้งหลวง

: 02-510-2957

 : phuengluang.s

About us

 

 

ลุ้นรับฟรี

ลุ้นรับฟรี

เชิญลุ้นรับฟรี GIFT VOUCHER ฟรีห้องพัก SUPERIOR GARDEN VIEW

จาก Phuengluang Riverside Hotel

(จำนวน 2 รางวัล รวมมูลค่า 4,000 บาท)

กติกาง่ายๆเพียง

– กด ติดตาม ร้าน PuengluangOfficialStore  (LazMall) (ร้าน บริษัท ผึ้งหลวง สไปซ์ จำกัด)

– เขียนรีวิวสินค้า ใน Lazada  (การรีวิวต้องมีภาพ หรือคลิปวีดีโอด้วยครับ)

– 1 รีวิว = 1 สิทธิ์

*ประกาศรายชื่อผู้โชคดีวันที่ 31 มค. 2023

(กิจกรรมสำหรับร้านลาซาด้าเท่านั้นครับ)

 

 

สอบถามเพิ่มเติม ผึ้งหลวง

: 02-510-2957

 : phuengluang.s

About us

 

วันทหารม้า

วันทหารม้า

4 มกราคม ของทุกปี ‘วันทหารม้า’ สดุดีวีรกรรมพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อสู้กับทหารพม่าบนหลังม้า ณ บ้านพรานนก

วันทหารม้า ตรงกับวันที่ 4 มกราคมของทุกปี เป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้นำกำลังทหารตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยา หลังจากที่ทหารพม่ารวบรวมกำลังไล่ติดตามมาถึง ณ บ้านพรานนก อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพร้อมด้วยทหารเอกคู่พระทัยจำนวน 4 นาย ได้ทำการรบบนหลังม้าต่อสู้กับทหารพม่าจำนวน 30 นายจนได้รับชัยชนะ
โดยตลอดการรบในครั้งนั้นชาวบ้านได้จัดส่งข้าวเม่าให้เป็นเสบียงและส่งธนูให้แก่ทหารใช้เป็นอาวุธ กองทหารได้ปะทะกับพม่าที่คลองแห่งหนึ่ง จนเมื่อพระยาตากตีทหารพม่าแตกพ่าย จึงตั้งชื่อคลองว่า ‘คลองชนะ’ ฝ่ายทหารพม่าได้ติดตามไปอย่างกระชั้นชิดตลอดระยะทางที่หนีออกจากกรุงศรีอยุธยา พระยาตากต้องต่อสู้กับพม่าถึง 4 ครั้ง
แต่กองทหารพม่าก็ไม่ยอมลดละ และไล่ตามไปทันที่บ้านโพธิ์สังหาร ซึ่งมีหญิงสาวชาวบ้านชื่อนางโพ ได้ช่วยรบกับพม่าจนเสียชีวิต โดยภายหลังจากพระยาตากกู้ชาติได้แล้วจึงได้ระลึกถึงกลับมาตั้งชื่อหมู่บ้านโพธิ์สังหาร เป็นหมู่บ้านโพสาวหาญและยังใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้
อย่างไรก็ตาม ยังมีบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งคือ ‘พรานนก’ หรือเฒ่าคำ ซึ่งเป็นผู้ช่วยจัดเสบียงอาหารให้กับกองทหารพระยาตากในระหว่างสงคราม โดยในปัจจุบันมีรูปปั้นให้ประชาชนเคารพที่หมู่บ้านพรานนก อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทั้งนี้ จากการสู้รบในครั้งนั้นแสดงให้เห็นถึงการใช้คุณลักษณะของทหารม้าในการรบ คือความคล่องแคล่วและรวดเร็วในการเคลื่อนที่ จึงยกย่องพระองค์เป็นบูรพาจารย์แห่งการรบบนหลังม้า และเป็นพระบิดาของเหล่าทหารม้า และได้ถือเอาวันที่พระองค์สร้างวีรกรรมในครั้งนั้นคือวันที่ 4 มกราคม ของทุกปีเป็น ‘วันทหารม้า’
ที่มา: ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์ทหารม้า

 

 

สอบถามเพิ่มเติม ผึ้งหลวง

: 02-510-2957

 : phuengluang.s

About us

 

Asawin Academy

Asawin Academy

Asawin Academy ร่วมกับ TFCA school of football Suphanburi Center ส่งเด็กเยาวชนตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันฟุตบอล U-18 Japan football Laranja 2022

รายการแข่งขัน AS.LARANJA CUP เพื่อให้เยาวชนในประเทศไทยเพิ่มพูนความสามารถทางกีฬาดังนี้

・สร้างความ สามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ทำ กิจกรรมร่วมกัน
・สร้างประสบการณ์ให้เยาวชนได้ฝึกฝน เรียนรู้การเป็นนักกีฬาอาชีพ
・สร้างโอกาส ส่งเสริม ต่อยอดแก่เยาวชนที่มีความมุ่งมั่นในกีฬาให้เรียนรู้จากสโมสรหรืออะคาเดมี่ต่างประเทศ

ซึ่งรายการนี้ จัดโดย องค์กร AS.LARANJA CUP จัดการแข่งขัน แถบคันไซ ประเทศญี่ปุ่น โดยผู้เข้าร่วมหลัก จะเป็นทีมจากประเทศญี่ปุ่น โดยครั้งนี้ เรามุ่งมั่น ให้เยาวชน ได้รับประสบการณ์ เข้าใจความสำคัญในการใช้ชีวิตอยู่อยู่ กับเพื่อนร่วมทีม การช่วยเหลือกันและกันในสังคม และเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป

 

 

 

สอบถามเพิ่มเติม ผึ้งหลวง

: 02-510-2957

 : phuengluang.s

About us

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี นับเป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (วันที่ 28 ธันวาคม 2310) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรีเพียงพระองค์เดียว

และในปี พ.ศ. 2565 ครบ 255 ปี แห่งการสถาปนากรุงธนบุรี ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐต่ออาณาประชาราษฎร์และชาติบ้านเมืองเป็นอเนกประการ

ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้รับการยกย่องจากพระปรีชาสามารถในการรบทางบก ตั้งแต่ช่วงรับราชการในกรุงศรีอยุธยา แต่ในมุมมองของเหล่านายทหารกองทัพเรือ ส่วนหนึ่งก็ยอมรับในพระปรีชาสามารถในการทัพทางทะเลด้วย ช่วงเวลาก่อนกู้กรุงศรีอยุธยาไปจนถึงช่วงหลังการปราบดาภิเษกแล้ว ล้วนมีบันทึกเหตุการณ์การรบทางเรือทั้งจากพระราชพงศาวดารเอง หรือแม้แต่ร่องรอยในการบันทึกเรื่องราวอื่นนอกเหนือจากในพระราชพงศาวดาร

 

 

สอบถามเพิ่มเติม ผึ้งหลวง

: 02-510-2957

 : phuengluang.s

About us

 

เสด็จเตี่ย-กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

เสด็จเตี่ย-กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

19 ธันวาคม 2423 วันประสูติ “เสด็จเตี่ย-กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์”

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอลำดับที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมารดาคือ เจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2423

พระองค์ทรงได้รับถวายพระสมัญญาจากกองทัพเรือว่าเป็น “พระบิดาของกองทัพเรือไทย” และต่อมาได้แก้ไขเป็น “องค์บิดาของทหารเรือไทย” เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544 จากพระกรณียกิจของพระองค์ที่ทรงวางรากฐานและพัฒนาปรับปรุงทหารเรือสยามให้เจริญก้าวหน้าตามแบบประเทศตะวันตก
ส่วนกรณีที่นักเรียนนายเรือพากันเรียกพระองค์ว่า “เสด็จเตี่ย” นั้น พลเรือโท ศรี ดาวราย สันนิษฐานว่า มาจากการที่พระองค์ทรงขัดดาดฟ้าให้นักเรียนนายเรือใหม่ๆ ที่ฝึกภาคทางทะเลบนเรือหลวงพาลีรั้งทวีปดูเป็นแบบอย่าง ในปี พ.ศ. 2462 หลังจากที่ทอดพระเนตรเห็นนักเรียนเหล่านั้นทำงานนี้ด้วยท่าทางเงอะงะเก้งก้าง โดยตรัสกับพวกนักเรียนเหล่านั้นว่า “อ้ายลูกชาย มานี่เตี่ยจะสอนให้”
เมื่อช่วงต้นรัชกาลที่ 6 กรมหลวงชุมพรฯ ทรงออกจากราชการซึ่ง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “…กรมหลวงชุมพรฯ ไม่ทรงสบาย ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกเป็นนายทหารกองหนุนอยู่ชั่วคราว ๑ จนถึงปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๖๐ จึงเสด็จกลับเข้ามารับราชการเป็นตำแหน่งจเรทหารเรือ…”
แต่กรณีนี้ ศรัณย์ ทองปาน มีความเห็นต่างออกไปโดยเห็นว่า “…ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๖ เกิดเหตุนายทหารเรือผู้หนึ่งเมาสุราในร้านอาหารสันธาโภชน์ ที่ตำบลบ้านหม้อ แล้วเกิดวิวาทกับมหาดเล็กหลวง ทำให้รัชกาลที่ ๖ ทรงพิโรธ ดังความในพระราชหัตถเลขาตอนหนึ่งว่า ‘…ปรากฎชัดว่าได้ฝึกสอนนักเรียนนายเรือในหนทางไม่ดี ทำให้มีจิตร์ฟุ้งสร้านจนนับว่าเสื่อมเสียวินัยและนายของทหาร…สมควรลงโทษเป็นตัวอย่าง’
ประกอบกับมีข่าวลือว่า กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์กับกรมขุนนครสวรรค์วรพินิต กำลังวางแผนก่อกบฏ ชิงราชสมบัติ โดยแม้ว่าพระองค์ทรงออกจากราชการแล้วทางการก็ยังให้ตำรวจท้องที่คอยติดตามการเคลื่อนไหวของพระองค์…”
ระหว่างที่ทรงอยู่นอกราชการ กรมหลวงชุมพรฯ ทรงหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นหมอยา ใช้พระนามว่า “หมอพร” ในช่วงนี้เองที่กล่าวกันว่า ทรงปราบนักเลงนางเลิ้งได้อยู่หมัด ได้นักเลงมาเป็นลูกน้องด้วย ช่วงเวลานี้กินเวลาราว 6 ปี พระองค์จึงได้กลับเข้ารับราชการกองทัพเรืออีกครั้ง หลังสยามประกาศสงครามกับเยอรมนี
เมื่อได้เสด็จกลับเข้ารับราชการทหารเรือและทรงอุทิศพระองค์ปฏิบัติราชการทหารเรือด้วยพระอุตสาหะวิริยะแล้วก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเลื่อนพระยศเป็นนายพลเรือโท และนายพลเรือเอก ทั้งยังได้โปรดเกล้าฯ เฉลิมพระอิสริยยศเป็น กรมขุนและกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ตามลำดับ กับได้โปรดเกล้าฯให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารเรือ ซึ่งเป็นตำแหน่งบังคับบัญชากำลังพลเทียบเท่าตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือในปัจจุบัน ก่อนที่จะโปรดเกล้าฯให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรืออันเป็นตำแหน่งสูงสุดในราชการทหารเรือ

ในบั้นปลายพระชนมชีพ กรมหลวงชุมพรฯ ได้กราบถวายบังคมลาออกไปรักษาพระองค์ที่มณฑลสุราษฎร์ซึ่งเดิมมีชื่อว่า “มณฑลชุมพร” อันพ้องกับพระนามกรม และได้ประชวรสิ้นพระชนม์เสียที่นั้น เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466

 

 

 

 

สอบถามเพิ่มเติม ผึ้งหลวง

: 02-510-2957

 : phuengluang.s

About us

 

วันกีฬาแห่งชาติ

วันกีฬาแห่งชาติ

วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี กำหนดเป็น วันกีฬาแห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นตัวแทนของนักกีฬาทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ที่กรุงเทพฯ และทรงชนะเลิศได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ซึ่งถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ทางการกีฬาของประเทศไทย

นอกเหนือจากกีฬาเรือใบแล้ว แบดมินตันก็เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดมากเช่นกัน ในหอประชุมวังจิตรลดารโหฐาน ได้ปรับแต่งเป็นสนามแบดมินตันมาตรฐาน ส่วนมากพระองค์จะทรงแบดมินตันในตอนเย็นและวันศุกร์ และเช้าวันอาทิตย์ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทางการกีฬานี้ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกว่าพระองค์ทรงเป็นนักกีฬาอย่างแท้จริง และทรงสนับสนุนกีฬาจนเป็นที่ปรากฏชัด
ดังนั้น ในการประชุมใหญ่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ครั้งที่ 29 ที่เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี โดยมีนายฮวน อันโตนีโอ ซามารานซ์ ประธานคณะโอลิมปิกสากล เป็นประธานการประชุม พร้อมทั้งสมาชิกเข้าร่วมประชุมอีก 87 ประเทศ ได้มีมติเอกฉันท์ให้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญดุษฎีกิตติมศักดิ์ของโอลิมปิกสากล คือ ‘อิสรยาภรณ์โอลิมปิกชั้นสูงสุด’ (ทอง) แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญโอลิมปิกชั้นสูง สมควรที่นักกีฬาและประชาชนชาวไทยจะเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท อันจะเป็นโอกาสให้สามารถนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติและวงศ์ตระกูล

เพื่อเป็นการระลึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเป็นนักกีฬาตัวแทนของชาติไทย ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 และเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนชาวไทยเห็นคุณค่าความสำคัญของการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย จึงได้มีมตินำเสนอคณะรัฐมนตรีลงความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2529 กำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี เป็น ‘วันกีฬาแห่งชาติ’

 

 

 

 

สอบถามเพิ่มเติม ผึ้งหลวง

: 02-510-2957

 : phuengluang.s

About us

 

อัศวินU18-2565

อัศวินจันทบุรี U18 2565

บรรยากาศพิธีมอบถ้วยรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอล

รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี “อัศวินจันทบุรี U18 ลีก 2565” โดยคุณวุฒิศักดิ์ รัตนสุวรรณ์ ประธานผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดจันทบุรี ผู้แทนจากเครื่องดื่มอัศวิน ผู้สนับสนุนหลัก

 

 

 

สอบถามเพิ่มเติม ผึ้งหลวง

: 02-510-2957

 : phuengluang.s

About us

 

กีฬาแหลมทองครั้งแรก

กีฬาแหลมทอง ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ

AsawinHistory l 12 ธันวาคม 2502 กีฬาแหลมทอง ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ

ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2501 องค์กรการกีฬาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมการแข่งขัน ได้ร่วมประชุมเพื่อก่อตั้งองค์กรการกีฬาในระดับภูมิภาค เพื่อจักการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อสนับสนุนความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

องค์กรดังกล่าวใช้ชื่อว่า สหพันธ์กีฬาแหลมทอง (SEAP Games Federation) มีประเทศสมาชิกประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา ร่วมกันจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง หรือ SEAP Games (Southeast Asian Peninsular Games) กำหนดทุกๆ 2 ปี โดยการแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 12-17 ธันวาคม 2502 เรียกว่า มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมอยู่ 5 ประเทศ ได้แก่ พม่า, ลาว, มาเลเซีย, สิงค์โปร์, ไทย (สิงคโปร์มาเข้าร่วมหลัง ส่วนกัมพูชาไม่ได้ร่วมแข่งขัน)
กีฬาแหลมทองครั้งแรกมีการแข่งขันทั้งหมด 12 ประเภท คือ กรีฑา, แบดมินตัน, บาสเก็ตบอล, มวย, จักรยาน, ฟุตบอล, เทนนิส, ยิงปืน, ว่ายน้ำ, ปิงปอง, วอลเลย์บอล และยกน้ำหนัก ประเทศที่ได้เหรียญรางวัลมาที่สุดคือ ประเทศไทยโดยมีทั้งหมด รองลงมาคือ เมียนมาร์ และ มาเลเซีย ตามลำดับ
ต่อมาไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันอีกครั้งในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ซึ่งจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 9 – 16 ธันวาคม 2510 ซึ่งครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงเข้าร่วมในการแข่งขันด้วย โดยวันที่ 16 ธันวาคม 2510 ทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค
การแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งสุดท้ายในปี 2518 ซึ่งเป็นครั้งที่ 8 จัดที่ประเทศไทย ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ซีเกมส์ หรือ SEA Games (South-East Asian Games) ในปี 2520 และมีประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นคือ อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และบรูไน รวมทั้งติมอร์-เลสเต ในเวลาต่อมา

ขอบคุณรูปภาพ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระราชทานรางวัลให้กับนักกีฬาแบดมินตันในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 1 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ (ภาพจาก A bulletin of Information issue by the Organizing Committee for the First SEAP Games, No.3 Bangkok Thailand. 1959)

 

 

 

สอบถามเพิ่มเติม ผึ้งหลวง

: 02-510-2957

 : phuengluang.s

About us