โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีนํ้าตาลในเลือดมากผิดปรกติอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลินหรือผลิตไม่เพียงพอหรืออาจผลิตเพียงพอแต่เซลล์ไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินในการดึงน้ำตาลในเลือดเข้าเซลล์เพื่อสร้างพลังงาน กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ

โรคเบาหวานประเภท 1 เกิดจากร่างกายไม่ผลิตอินซูลินหรือผลิตไม่เพียงพอ เป็นกรรมพันธุ์และมักแสดงอาการในวัยรุ่นหรือก่อนอายุ 40 ปี อาการมักเกิดขึ้นรวดเร็วและอาจรุนแรงขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือด  ดังนั้นจึงต้องวัดปริมาณน้ำตาลในเลือดก่อนกินอาหารและปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสมโดยการกินอาหารเพื่อสุขภาพและการฉีดอินซูลิน

โรคเบาหวานประเภท 2 เกิดจากการกินอาหารและการดํารงชีวิตที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน กินแป้งและน้ำตาลมากเกินไปจนน้ำตาลในเลือดสูงตลอดเวลาทำให้เซลล์เลิกตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินในการดึงน้ำตาลในเลือดเข้าเซลล์ มักแสดงอาการหลังอายุ 40 ปี ต้องควบคุมอาหารและ/หรือกินยา

โรคเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้ทารกเกิดมาเป็นเบาหวาน ตัวใหญ่มากหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์จึงไม่ควรกินแป้งและน้ำตาลมากเกินไป โรคเบาหวานชนิดนี้อาจหายเองได้หลังคลอด เนื่องจากระหว่างตั้งครรภ์ รกจะผลิตฮอร์โมนที่ทำให้เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง

อาการของโรคเบาหวานประเภท 1 และ 2 ได้แก่ กระหายนํ้า หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด หงุดหงิดง่าย อ่อนเพลีย ตาลาย แผลหายช้า และติดเชื้อง่าย

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ได้แก่ พันธุกรรม กินแป้งและนํ้าตาลมากเกินไป อ้วน ไม่ออกกําลังกาย

ภาวะแทรกซ้อน

น้ำตาลในเลือดสูงสามารถทำลายผนังด้านในของเส้นเลือดขนาดเล็กที่ไต ตา สมอง หัวใจ และอวัยวะอื่นๆ ส่งผลกระทบทำให้การทำงานของไตเกิดความเสียหาย ตาบอด หลอดเลือดแดงแคบลงก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองแตก น้ำตาลในเลือดมากก็สามารถทำลายผนังเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงเส้นประสาททำให้รู้สึกเสียวชาหรือปวดที่ปลายนิ้วและสูญเสียความรู้สึกที่แขนขา จึงอาจเดินชนจนเป็นแผลที่เท้าโดยไม่รู้ตัว แผลเน่าง่ายหายช้าเพราะน้ำตาลในเลือดไหลมาที่แผลและเป็นอาหารที่ดีของเชื้อโรคทำให้เชื้อโรคโตเร็ว

References

  1. Gabbe SG, et al. Diabetes mellitus complicating normal pregnancy. In: Obstetrics: Normal and Problem Pregnancies. 7th ed. Philadelphia, Pa.: Saunders Elsevier; 2017. https://www.clinicalkey.com. Accessed Jan. 10, 2018.
  2. Kasper DL, et al., eds. Diabetes mellitus: Diagnosis, classification and pathophysiology. In: Harrison’s Principles of Internal Medicine. 19th ed. New York, N.Y.: McGraw-Hill Education; 2015. http://accessmedicine.mhmedical.com. Accessed April 16, 2018.
  3. Morrow ES. Allscripts EPSi. Mayo Clinic, Rochester, Minn. Accessed Jan. 17, 2018.
  4. Natural medicines in the clinical management of diabetes. Natural Medicines. https://naturalmedicines.therapeuticresearch.com. Accessed March 6, 2018.
  5. Papadakis MA, et al., eds. Diabetes mellitus and hypoglycemia. In: Current Medical Diagnosis & Treatment 2018. 57th ed. New York, N.Y.: McGraw-Hill Education; 2018. http://accessmedicine.mhmedical.com. Accessed March 6, 2018.
  6. Standards of medical care in diabetes — 2018. Diabetes Care. 2018;41:s1.

เครื่องเทศไทย เพื่อครัวไทยสู่ครัวโลก

Come & Experiences our best of pepper and spice

Phuengluang Page